จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล (Publication Ethics)
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ และสอดรับกับจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัยตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล จึงได้กำหนดบทบาทและจริยธรรมในส่วนต่างๆ ของวารสารดังต่อไปนี้
- 1. บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Authors’ Duties)
- 2. บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editors’ Duties)
- 3. บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewers’ Ethics)
1.1 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
1.2 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงาน ข้อความ หรือความคิดเห็นต่างๆ ในผลงานที่ส่งมานั้นมิได้คัดลอกผลงาน ข้อความ หรือความคิดเห็นของบุคคลอื่น หรือแอบอ้างนำผลงาน ข้อความ หรือ
ความคิดเห็นของบุคคลอื่นมาเป็นของตน
1.3 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานวิจัยนั้น ได้ดำเนินการจริง มิได้ปรุงแต่งขึ้น
1.4 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า ผู้นิพนธ์มิได้บิดเบือน แก้ไข หรือดัดแปลงข้อมูลหรือตัวเลขใดๆ ที่ได้จากผลการวิจัยจริง
1.5 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า ตนเป็นผู้เขียนผลงานวิจัยนั้นจริง มิได้จ้างวานให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานวิจัยเป็นผู้เขียนให้
1.6 ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วนร่วมในการวิจัยจริง
1.7 ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนด
1.8 ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง เมื่อผู้นิพนธ์นำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตน
1.9 ผู้นิพนธ์ที่ทำการดัดแปลง ตัดต่อ หรือแก้ไขข้อความจากต้นฉบับเดิมเพื่อให้เป็นข้อความใหม่ของตน ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง
1.10 การอ้างอิงแหล่งที่มาของผู้นิพนธ์ต้องสามารถตรวจสอบได้
1.11 ผู้นิพนธ์ต้องระบุทุนสนับสนุนในการทำวิจัย
1.12 ในกรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้นิพนธ์ควรระบุด้วยทุกครั้ง
2.1 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง และควบคุมคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสาร
2.2 บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบว่าบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารนั้น เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ในวารสารอย่างแท้จริง
2.3 บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบว่าบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้น เป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2.4 บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิให้พิจารณาบทความที่ตรงกับศาสตร์หรือแขนงของบทความนั้นๆ
2.5 บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลของผู้นิพนธ์ได้เป็นอย่างดี
2.6 บรรณาธิการต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ด้วยความเป็นธรรม ปราศจากอคติหรือความลำเอียง
2.7 บรรณาธิการต้องไม่ทำให้ผู้นิพนธ์ต้องได้รับความอับอายจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้นิพนธ์ทั้งทางวาจาหรือทางลายลักษณ์อักษร
2.8 บรรณาธิการต้องไม่นำบทความของตนที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว มาตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำในวารสารอื่นๆ อีก
2.9 บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ หรือทีมผู้บริหาร
2.10 บรรณาธิการไม่ควรเขียนบทความลงในวารสารของตน
3.1 ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความที่ตรงกับศาสตร์และความเชี่ยวชาญของตนอย่างแท้จริง
3.2 ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับของบทความ ไม่เผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ ในระยะของการประเมิน และจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร
อย่างเป็นทางการ
3.3 ผู้ประเมินบทความต้องมีวินัยและตรงต่อเวลาในระยะเวลาของการประเมินบทความ
3.4 ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการ หรือทีมผู้บริหาร
3.5 ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเป็นธรรม ไม่อคติ หรือลำเอียง
3.6 ผู้ประเมินบทความต้องให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำตามหลักวิชาการเท่านั้น และห้ามใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ทำให้ผู้นิพนธ์อ่านแล้วรู้สึกอับอาย
3.7 ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งกลับทางกองบรรณาธิการทันที หากพบว่า บทความนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ประเมินบทความเอง
3.8 หากผู้ประเมินบทความพบว่า ข้อความ หรือส่วนใดของบทความมีความเหมือนหรือทับซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งกองบรรณาธิการทันที